วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

อวัยวะใรร่างกายที่สำคัญ

นางสาว ภัคธีมา แสงแป้น  รหัส 5510122129020 สาขา ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี




                                                         อวัยวะใรร่างกายที่สำคัญ


     สมอง (อังกฤษBrain) คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วยสมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหวพฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์

     http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/20986-00/



     หัวใจ  (อังกฤษheart)  เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากร่างกายของเราขาดก้อนเนื้อก้อนเล็กๆก่อนหนึ่งที่เรียกว่า”หัวใจ” ไปแล้ว ร่างกายของเราก็จะไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ ดังหะดีษที่ท่านร่อซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า
“พึงรู้เถิดว่า ในร่างกายนั้นมีก้อนเนื้ออยู่ก้อนหนึ่ง ซึ่งถ้ามันดีแล้ว อวัยวะส่วนอื่นในร่างกายก็จะดีตามไปด้วยทั้งหมด แต่หากมันเลวแล้ว อวัยวะอื่นทั้งหมดในร่างกายก็จะเลวตามไปด้วย พึงรู้เถิดว่ามันคือหัวใจ” (รายงานโดย อัล-  บุคอรีย์ และมุสลิม)
        การทำงานทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่กับหัวใจที่บริสุทธิ์ เพราะหัวใจที่บริสุทธิ์นั้น หมายถึง การที่เราได้ลงมือทำสิ่งใดด้วยกับความเต็มใจ ไม่คิดที่จะโอ้อวด หรือหลอกลวงใครเพื่อเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติอามั้ลอิบาดะห์ต่อพระองค์อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เราจะต้องตั้งใจทำสิ่งนั้นด้วยกับหัวใจที่อิคลาศ หากเราประกอบอามั้ลด้วยกับการเสแสร้งเพื่อเหตุผลบางอย่าง อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาก็จะไม่ทรงตอบรับการงานของเราอย่างแน่นอน
       หัวใจของเรานั้นมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เช่นเดียวกัน หัวใจที่ดีก็จะสั่งให้ร่างกายของเราทำในสิ่งที่ดีงามไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ แต่ในทางกลับกัน หากหัวใจของเรานั้นมีความบกพร่องและไม่แข็งแรง ร่างกายของเราก็แสดงปฏิกิริยาตอบสนองออกมาทั้งทางความคิด ร่างกาย และจิตใจ
     หัวใจของเรามักจะมาเคียงคู่กับความรัก และแน่นอนว่าสำหรับมุสลิมแล้ว สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องมอบความรักให้อันดับแรกก็คือ อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และ รองลงมาก็คือ ร่อซูลของพระองค์ และบุคคลที่เราขาดไม่ได้อีกสองท่านก็คือ พ่อและแม่ของเรานั่นเอง แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นความรักที่เราจะมอบให้นั้นจะต้องเป็นความรักที่มาพร้อมกับหัวใจที่บริสุทธิ์ และที่สำคัญเราจะต้องรักให้ถูกต้อง และความรักที่ถูกต้องนั้นก็คือ รักเพื่ออัลลอฮ์
      หัวใจของคนเรานั้นก็เปรียบเสมือนกับเหล็กที่เมื่อนำมาแช่น้ำ เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า น้ำนั้นก็จะทำให้เหล็กนั้นเกิดสนิม เฉกเช่นเดียวกัน หากเราไม่นำหัวใจของเรามาขัดเกลาให้บริสุทธิ์แล้ว สนิมที่เกิดขึ้นมันก็จะค่อยๆกัดกร่อนหัวใจของเราไปทีละเล็กทีละน้อย และท้ายที่สุดแล้วหัวใจของเราก็จะตายด้านโดยที่ไม่รู้ตัว
    ดังนั้นหัวใจจึงเป็นตัวแปรที่จะคอยกำหนดว่าการกระทำ ความคิด และคำพูดของเรานั้นจะถูกแสดงออกมาในลักษณะใด เพราะถ้าหากในหัวใจของเรามีแต่สิ่งที่ดีงาม ความคิด การกระทำ และคำพูดของเราก็จะมีแต่เรื่องที่ดีงาม แต่ถ้าหากหัวใจของขุ่นมัว หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ไม่ดีงาม ความคิด การกระทำ และคำพูด ที่เราแสดงออกมามันก็จะสะท้อนสภาพความอ่อนแอของหัวใจเราออกมาด้วย สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เราทุกคนจะต้องหมั่นตรวจสอบสภาพหัวใจของตนเองว่าวันนี้หัวใจของเรามีความเข้มแข็งมากน้อยเพียงใด เพราะเมื่อใดที่เราพบว่าหัวใจของเรานั้นกำลังอ่อนแอ นั่นหมายถึง เกราะกำบังชิ้นสำคัญที่คอยป้องกันเชื้อไวรัสแห่งความชั่วร้ายกำลังกำลังอ่อนแอลง และแน่นอนว่าเชื้อไวรัสเหล่านี้มันจะเข้ามาทำลายความงดงามที่เคยอยู่ภายในหัวใจไปจนหมดสิ้น จนท้ายที่สุดเราต้องจะต้องกลายเป็นมนุษย์ไร้หัวใจที่กำลังประสบกับโรคแห่งความขาดทุน



http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=50&id=975




       ปอด เป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ใช้ในการหายใจ หน้าที่หลักของปอดก็คือ การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย และแลกเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบเลือดออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำงานโดยการประกอบกันขึ้นของเซลล์เป็นจำนวนล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์ที่ว่านี้มีลักษณะเล็กและบางเรียงตัวประกอบกันเป็นถุงเหมือนลูกโป่ง ซึ่งในถุงลูกโป่งนี้เองที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซต่าง ๆ เกิดขึ้น นอกจากการทำงานแลเปลี่ยนก๊าซแล้ว ปอดยังทำหน้าที่อื่นๆอีก

       คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้วย

http://danusorn10617.blogspot.com/2012/02/blog-post.html


ตับ  ( liver )  ของคนเราเป็นอวัยวะที่ให้ที่สุด และมีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอันมาก ตับจะอยู่ตรงชายโครงขวาใต้กระดูกซี่โครง หนักประมาณกิโลกรัม มีสีออกแดงแบ่งออกเป็นสองกลีบ คือกลีบขวา และกลีบซ้าย โดยปกติมักจะคลำตับไม่ได้ แต่หากตับโตขะโตลงล่าง หรือโตออกด้านข้างหรือบนก็ได้ มักจะมีอาการจุกตื้อๆโดยในร่างกายมนุษย์ขนาดปกติตับจะมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม เนื้อตับจะออกสีแดงปนน้ำตาลเข้ม ทั้งนี้
ตับมีหลอดเลือดสำคัญ ที่ใช้ทำหน้าที่ในการผ่านเข้า-ออก 3 ช่องทาง คือ


1hepatic portal vein
หลอดเลือดดำจากลำไส้เล็ก (เล็ก, ใหญ่) นำกลูโคส และสารอาหารอื่นที่เพิ่งผ่านการย่อยและดูดซึมมา ส่งให้ตับ เพื่อคัดแยกประเภทดำเนินกรรมวิธีตามหน้าที่ของตับ

2hepatic artery
หลอดเลือดแดงจากหัวใจ นำเลือดแดงที่อุดมด้วยออกซิเจนมาส่งเลี้ยงเซลล์ตับ ขณะเดียวกันก็รับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นของเสียจากตับส่งออกทางหลอดเลือดดำ กลับไปหาหัวใจและปอด

3hepatic vein
หลอดเลือดดำจากตับ เข้าสู่หลอดเลือดดำจากตับ เข้าสู่หลอดเลือดดำหัวใจ ทั้งนี้ตับได้ฝากส่งคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำตาลกลูโคส และสารอาหาร รวมทั้งตับอ่อนก็ได้ช่วยส่งอินซูลิน (เป็นผู้นำพากลูโคส) ให้หัวใจส่งไปรับออกซิเจนก่อนแล้วจึงจะแจกจ่ายไปทั่วทุกเซลล์ในร่างกาย

หน้าที่ของตับ
โดยพิจารณาเพียงการไหลเข้า-ออก ของหลอดเลือด 3 เส้น ดังกล่าวก็พอจะอนุมานได้ว่า ตับนั้นเสมือน
เป็น "แม่บ้านใหญ่" หรือ "โรงงานศูนย์กลาง" ของร่างกาย กล่าวคือ ทั้งรับวัตถุดิบ ทั้งผลิต ทั้งเก็บรักษา ทั้งตรวจสอบคุณภาพ ทั้งแจกจ่าย ทั้งเก็บขยะและทิ้งขยะของเสีย
ในการนี้ ใคร่ขอสรุปพอให้เห็นภาพกว้าง ๆ ในการทำหน้าที่ของตับอย่างง่าย ๆ ดังนี้
  1. เป็นหน่วยรักษากฎเกณฑ์ เป็นหน่วยสังเคราะห์ และเป็นหน่วยส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ตับสร้างขึ้นใช้ ตามความต้องการของร่างกาย ผลผลิตที่ตับสร้างขึ้น และควบคุมการใช้ ได้แก่
  • น้ำตาลกลูโคส
  • โปรตีน เพื่อนำไปใช้สังเคราะห์ทดแทนอวัยวะที่สึกหรอทั่วร่างกาย รวมทั้งโปรตีนที่จำต้องใช้งานอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น สารทำให้เลือดแข็งตัว (coagulation) อัลบูมิน โกลบูมิน ฯลฯ
  • น้ำดี เพื่อใช้ย่อยอาหารไขมัน ขณะเดียวกัน ก็ใช้ท่อน้ำดีเป็นช่องทางทิ้งของเสีย หรือของมีพิษที่ตับกรองเก็บไว้ ให้พ้นออกไปกับกากอาหารทางลำไส้
  • สารประเภทไขมัน (lipids) เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไลโปโปรตีน ฯลฯ
  1. เป็นหน่วยคลังเก็บรักษา เก็บสิ่งมีประโยชน์ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ
  2. เก็บของมีพิษ เช่น ยาเคมีรักษาโรค โลหะหนัก ทองแดง รวบรวมพักรอไว้ก่อนที่จะทิ้งออกไปนอกร่างกาย
  3. เป็นหน่วยรักษาความสะอาด ในการกำจัดขยะ และของมีพิษ หรือทำของมีพิษให้หมดพิษขยะหรือสิ่งมีพิษที่สำคัญ ได้แก่
  • แอมโมเนีย ซึ่งนับเป็นขยะที่เกิดจากการย่อยสลายอาหารโปรตีน ทั้งนี้ ตับจะเปลี่ยนแปลงแอมโมเนีย (ammonia) ให้เป็นยูเรีย (urea) ส่งผ่านไตให้เป็นน้ำปัสสาวะ (urine) ออกทิ้งไป
  • สารบิลิรูบิน (bilirubin) เป็นขยะที่เกิดจากการสิ้นอายุขัยของเม็ดเลือดแดง (ซึ่งแต่ละเม็ดเลือดแดงจะมีอายุเพียงประมาณ 120 วัน) โดยม้ามจะเป็นผู้ดำเนินการกวาดต้อนและทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้วเปลี่ยนให้เป็นสีเหลืองไปเกาะกับอัลบูมิน (albumin) ลอยไปตามกระแสเลือดเพื่อให้ตับจัดการเก็บเอามาย่อยสลายเป็นสารบิลิรูบิน (bilirubin) แล้วฝากส่งไปกับน้ำดี (bile) ออกทิ้งผ่านลำไส้ออกไปนอกร่างกายพร้อมกากอาหาร
  • ฮอร์โมน ทิ่อวัยวะต่าง ๆ ผลิตขึ้นมาใช้ในหน้าที่ต่าง ๆ กัน เมื่อฮอร์โมนเหล่านั้นหมดอายุ หรือมากเกินความจำเป็น ตับก็จะจัดการเก็บมาทำลาย
  • ยา ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ตับไม่เคยรู้จัก เพราะเป็นสารเคมีที่หลุดเข้าสู่กระแสเลือด ในการนี้ ตับก็จะพยายามเก็บไว้ในฐานะของสารพิษเช่นเดียวกับสารพิษอื่น หาทางปล่อยทิ้งต่อไปด้วยเช่นกัน
  • แอลกอฮอล์ จากเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็มีฐานะเป็นสารพิษเหมือนยาเช่นเดียวกัน แต่มีขอบเขตของพิษมากกว่ายา ตรงที่ปริมาณมาสู่ตับมักจะมากล้นเกิน (เพราะเจ้าของร่างกายดื่มโดยไม่เคยควบคุมปริมาณ) เซลล์ตับรับมือสารพิษไม่ไหว จึงอาจบาดเจ็บ (ในรูปของตับอักเสบ) หรือเซลล์ตับตาย (ในรูปของตับแข็ง) แต่ถึงอย่างไร ตับก็พยายามทำหน้าที่ขับทิ้งออกทางไตปนกับน้ำปัสสาวะ
สรุปแล้ว ทั้งยา และแอลกอฮอล์ อาจทำลายตับได้ หากใช้อย่างไม่รู้เท่าทัน และไม่ระมัดระวัง

หน้าที่ของตับ
  1. ตับเป็นอวัยวะที่สร้างสารต่างๆที่สำคัญ เช่นไข่ขาวหนือ albumin ช่วยอุ้มน้ำให้อยู่ในหลอดเลือด หากไข่ขาวในเลือดต่ำจะทำให้เกิดอาการบวมเท้า ท้องมาน
  2. ตับเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และเกลือน้ำดีเพื่อช่วยย่อยสลายไขมัน โดยน้ำดีจะถูกขับออกทางเดินอาหารทำให้อุจาระสีเหลือง หากทางเดินน้ำดีอุดตันอุจจาระจะมีสีขาว
  3. ตับเป็นอวัยวะที่สะสมพลังงานเช่น glucose และวิตามิน
  4. ตับเป็นโรงงานผลิตพลังงานให้ร่างกาย โดยสลายสารอาหารให้ร่างกาย เมื่อตับป่วยจึงรู้สึกเพลียมาก
  5. ตับมีหน้าที่กำจัดของเสีย ของเสียที่ร่างกายเราได้มาจากอาหารหรือสารที่เรารับเข้าไป เช่นยา แอลกอฮอลล์ กาแฟ หรือสารที่เป็นพิษ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการย่อยหรือสลายสารอาหาร เมื่อสารพิษผ่านตับ ตับจะทำหน้าที่ทำลายสารพิษนั้น แต่หากเราได้รับสารพิษมากก็อาจจะทำให้ตับเสียหายได้
  6. ตับเป็นที่อยู่ของเม็ดเลือดเพื่อดักจับเชื้อโรค


http://www.livernurturingclub.com/center/knowledge/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/


ลำไส้ใหญ่ (Colon หรือ Large intestine) เป็นอวัยวะสุดท้ายในระบบการย่อยอาหารก่อนที่กากอาหารจะถูกกำจัดออกทางทวารหนัก นอกจากทำหน้าที่กำจัดอาหารออกจากร่างกายแล้ว ลำใส้ใหญ่ยังทำหน้าอื่นๆในระบบการย่อยอาหารอีกด้วยหลายอย่าง วันนี้เราจะมาดูกันว่าลําไส้ใหญ่ทําหน้าที่อะไรบ้าง


ลําไส้ใหญ่ทําหน้าที่อะไร

ลําไส้ใหญ่ทําหน้าที่อะไร
1. ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่รับกากอาหารที่ย่อยเสร็จแล้วจากลำไส้เล็ก เพื่อเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายของระบบการย่อยอาหาร
2. ดูดซึมน้ำและวิตามินบี 12 ที่แบคที่เรียในลำไส้ใหญ่สร้างขึ้น
3. ดูดซึมแร่ธาตุและกลูโคสที่ยังหลงเหลือกลับเข้าสู่กระแสเลือด
4. ผลักดันกากอาหารสู่ไส้ตรง (ลำไส้ใหญ่ส่วนสุดท้าย) เพื่อขับออกทางทวารหนักต่อไป
http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/